ใบชา หรือใบชาเขียวในที่นี้ คือ ชา ชนิดเดียวกับ ชาอู่หลง , ชาดำ , ชาผง แต่ที่แบ่งชนิดของชาต่างๆออกมานั้นเพราะแบ่งตามกรรมวิธีในการผลิต ถิ่นกำเนิดดั้งเดิม ของชาอยู่ในทวีปเอเชีย บนเขตที่ราบ สูงบริเวณรอยต่อระหว่างพม่า อินเดีย และจีน ดังนั้นแหล่งผลิตและส่งออก ชารายใหญ่ที่สำคัญของโลกคือ ประเทศจีน อินเดีย และรัฐอัสสัม ซึ่งนอก จาก ๓ แห่งนี้แล้ว ก็ยังมีการผลิตชาในอีกหลายประเทศ อาทิเช่น อินโดนีเซีย (ที่เกาะชวา) รัสเซีย เคนยา ยูกันดา พม่า และไทย เป็นต้น แต่ชาเหล่านั้นมีคุณภาพสู้ชาจีน ชาดาร์จิลิ่ง ชาอัสสัม และชาซีลอนไม่ได้ส่วนประเทศญี่ปุ่นแม้จะผลิต ชาเขียวที่มีคุณภาพและรสชาติดี เป็น ที่รู้จักและนิยมดื่มกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ส่งออกขายน้อย เพราะประชาชน ภายในประเทศนิยมดื่มชาเขียวกันมาก
การดื่มชามีมานานเกือบ 5,000 ปีมาแล้ว ตามตำนานของชาวจีนกล่าวว่า การดื่มชาเกิดขึ้นจากการสังเกตุเห็นโดยบังเอิญของจักรพรรดิเฉินหนุง ซึ่งพระองค์ชอบดื่มน้ำต้ม โดยบ่ายวันหนึ่งขณะที่พระองค์ต้มน้ำดื่มอยู่นั้น เผอิญมีใบไม้จากต้นไม้ใกล้ๆปลิวตกในหม้อน้ำ ซึ่งท่านสังเกตุว่า น้ำต้มที่มีใบไม้นั้นมีกลิ่นหอมและมีรสชาติดี ดื่มแล้วรู้สึกกระปรี้กระเปร่า จึงได้มีการศึกษาต่อไปพบว่ามีคุณสมบัติทางยา จึงได้มีการเผยแพร่ต่อไป คนจีนจึงรู้จักชา ครั้งแรกในรูปแบบของสมุนไพร และจักรพรรดิเฉินหนุงก็ได้รับยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการแพทย์”
ประโยชน์และสรรพคุณชาเชียว
- มีส่วนในการรักษาโรคปวดศีรษะไปจนถึงโรคซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี
- ช่วยแก้หวัด
- แก้อาการร้อนใน
- ช่วยในการขับสารพิษ และช่วยขับเหงื่อในร่างกาย
- ช่วยแก้อาการเมาเหล้า อีกทั้งยังทำให้สร่างเมาได้เป็นอย่างดี
- มีส่วนช่วยในการทำให้เกิดการเจริญอาหาร
- ช่วยในการล้างสารพิษและช่วยกำจัดพิษในลำไส้ได้
- ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในร่างกาย
- ป้องกันตับจากพิษต่างๆ รวมทั้งโรคชนิดอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นกับตับได้
- มีฤทธิ์ในการต้านอาการอักเสบ ต้านจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส รวมทั้งช่วยต้านเชื้อ Botulinus และเชื่อ Staphylococcus
- มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ และช่วยป้องกันนิ่วในถุงน้ำดีและในไต
- ช่วยในการห้ามเลือดหรือทำให้เลือดไหลได้ช้าลง
- มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคข้ออักเสบรูมาติก ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการอักเสบบวมแดง ส่งผลทำให้ปวดเมื่อตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ
- ใช้เป็นยาพอกเพื่อรักษาแผลอักเสบ แผลพุพอง ฝีหนอง ไฟไหม้ อาการผดผื่นคัน แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้เป็นยากันยุง รวมทั้งแก้ผิวร้อนแห้งได้เป็นอย่างดี
- มีส่วนช่วยในการทำให้เกิดการผ่อนคลายอารมณ์ ช่วยระบายความร้อนที่เกิดกับศีรษะและเบ้าตา จึงทำให้ตาสว่าง ไม่ง่วงนอน แถมยังทำให้หายใจสดชื่นได้อีกด้วย
- ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย และท้องบิดได้เป็นอย่างดี
- มีส่วนช่วยในการแก้อาการกระหายน้ำ
- ช่วยในการระบายความร้อนให้ออกจากปอด แถมยังช่วยขับเสมหะได้อีกด้วย
Reviews
There are no reviews yet.